วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2551



3.เทคโนโลยีและนวัตกรรม

เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาขบวนการ วิธีการและแนวความคิดใหม่ๆมาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้ดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

นวัตกรรม หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ๆมาใช้หรือประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นสำหรับนวัตกรรมทางกาศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ๆที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาความรู้ แนวคิด การบวนการและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีทางการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
1. ระดับอุปกรณ์การสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับเครื่องช่วยสอนของครู
2.ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตัวเอง
3. ระดับการจัดระบบการศึกษา เป็นการใช้เทคโนโลยีการสอนระดับกว้างสามารถจัดระบบการศึกษาตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก

บทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับกระบวนการถ่ายทอดความรู้หรือประสบการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา๗งมีความสำคัญและบทบาทต่อการจัดการเรียนการสอนดังนี้
1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขว้างมากขึ้นไดเห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจได้อย่างสมบรูณ์และยังทำให้ผู้สอนมีเวลากับผู้เรียนมากขึ้น
2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมากขึ้น
3. ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้าวิจัย ทดลองค้นพบวิธีการใหม่ๆ ตามสภาพการเปลี่ยนแปลง
4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน
5. ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะหรือเจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย
6. ช่วยเพิ่อโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้น

สาเหตุที่นำเอาเทคนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษา กระบวนการให้การศึกษาในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ พอสรุปได้ 3 ประการคือ
1. การเพิ่มจำนวนประชากร
2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
3. ความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ๆ

สื่อการสอน
สื่อการสอนหมายถึง วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหนะในการถ่ายทอดความรู้ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียนสื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่าในตัวมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาแลแทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ

คุณสมบัติของสื่อการสอน
สื่อการสอนมีคุณสมบัติพิเศษ 3 ประการ คือ
1.สามารถจับยึดประสบการณ์ กิจกรรม และการกระทำต่างๆ ไวได้อย่างคงทนถาวร
2.สามารถจัดแจง จัดการและปรุงแต่งประสบการณ์ต่างๆ ให้ใช้ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
3.สามารถแจกจ่ายและขยายข่าวสารออกเป็นหลายๆฉบับเพื่อเผยแพร่สู่คนจำนวนมาก

คุณค่าของสื่อการสอน
สื่อการสอนทุกชนิดมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนดังนี้
1. เป็นศูนย์รวมความสนใจของผู้เรียน
2. ทำให้บทเรียนเป็นที่น่าสนใจ
3. ช่วยให้ผู้เรียนมีปนะสบการณ์กว้างขวาง
4. ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณืร่วมกัน
5. แสดงความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ
6. ให้ความหมายแก่คำที่เป็นนามธรรมได้7
. แสดงสิ่งที่ลี้ลับให้เข้าใจง่าย
8. อธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่าย
9. สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับเวลา ระยะทางและขนาดได้

คุณค่าของสื่อการสอนดังกล่าว จำแนกได้ 3 ด้านคือ
1. คุณค่าด้านวิชาการ
2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
3. คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา

ประเภทสื่อการสอนนักการศึกษาหลายคนพยายามจำแนกประเภทของสื่อการสอนเป็นหมวดหมู่ โดยอาศัยเกณฑ์ต่างๆ กัน เช่น
- จำแนกตามคุณสมบัติ
- จำแนกตามแบบ
- จำแนกตามประสบการณ์

หลักการใช้สื่อการสอน
สื่อการสอนจะมีประโยชน์และคุณค่ามากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ธรรมชาติของสื่อแต่ละชนิด จุดมุ่งหมายความสามารถของผู้เรียน

วิธีใช้ของครู ดังนั้น เพื่อให้สื่อการสอนเกิดผลดีมากที่สุด ควรดำเนินการตามขั้นทั้ง 4 ดังนี้
1. ขั้นการเลือก ( Selection)
2. ขั้นการเตรียม ( Preparation)
3. ขั้นการใช้หรือการแสดง ( Presntation)
4. ขั้นติดตามผล (Follow up)




นวัตกรรมการศึกษา
ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุกโลกาภิวัตน์ มีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

นวัตกรรมเกิดขึ้นตามสาเหตุใหม่ๆดังต่อไปนี้
1. การเพิ่มจำนวนผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เทคโนโลยีการศึกษาต้องหานวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้เพื่อให้สามารถสอนนักเรียนได้มากขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็วการเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัดนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้
3. การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม มีส่วนผลักดันให้มีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากขึ้น

ศาสตรราจารย์ ดร. ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้เกณฑ์การพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมไว้ 4 ประการ ดังนี้
1. นวัตกรรมจะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจเป็นของเก่าใช้ไม่ได้ผลในอดีตแต่นำมาปรับปรุงใหม่ หรือเป็นของปัจจุบันที่เรานำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น
2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยการพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่นำเข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์ โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินการให้เหมาะสมก่อนที่ดำเนินการเปลี่ยนแปลง
3.มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า "สิ่งใหม่" นั้นจะช่วยแก้ปัญหาและการดำเนินงานบางอย่างได้อย่างประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันหาก "สิ่งใหม่" นั้น ได้รับการเผยแพร่และยอมรับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนั้นไม่ถือว่าสิ่งใหม่นั้นเป็นนวัตกรรมแต่จะเปลี่ยนสภาพเป็นเทคโนโลยีอย่างเต็มที่

ขอบข่ายของนวัตกรรมสำหรับนวัตกรรมทางการศึกษา มีขอบข่ายในเรื่องอื่นๆดังนี้
1. การจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีการใหม่ๆ
2. เทคนิควิธีการสอนแบบต่างๆ ที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน
3. การพัฒนาสื่อใหม่ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
4. การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตนเอง
5. วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ๆ
6. การจัดการด้านการวัดผลใหม่ๆ

การเรียนการสอนผ่านสื่อคอมพิวเตอร์
ในอนาคตมีแนวโน้มการเรียนการสอนไปในทิศทางที่เเปลี่ยนแปลงไป เพราะมีสาเหตุดังต่อไปนี้
1. ปัจจุบันมีนวัตกรรมเกิกขึ้นใหม่ๆ ในทางการเรียนการสอนมีสื่อซึ่งผลิตออกมาอย่างไม่หยุดยั้ง
2. การเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนแบบใหม่ๆ
3. มีสื่อหลากหลายที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
4. มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อให้เข้ากับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน
5. คนสนใจทางการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้จากการศึกษานอกระบบ
6. ทรัพยากรการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
7. การวิจัยเกี่ยวกับผลสัมฤทธ์ทางการเรียนการสอนที่เพิ่มขึ้นทั้งในและนอกประเทศ
8. ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนในระบบและนอกระบบ



การยอมรับนวัตกรรมการศึกษา
-การแพร่กระจายนวัตกรรม
-การแพร่กระจายนวัตกรรมการศึกษา
- ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม

การแพร่กระจายนวัตกรรมการศึกษา เป็นกระบวนการถ่ายทอดความคิด การปฏิบัติ ข่าวสารหรือพฤติกรรมไปสู่ที่ต่างๆ จากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไปสู่กลุ่มบุคคลอื่นอย่างกว้างขวางจนเป็นผลให้เกิดการยอมรับความคิดและการปฏิบัติเหล่านั้นอันมีผลต่อโครงสร้างและวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในที่สุด

ลักษณะบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม
1. การแพร่กระจายเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม Everette M. Rogers ให้ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมว่าหมายถึง กระบวนการซึ่มีการเปลี่ยนแปลงปรากฏขึ้นในโครงสร้างและหน้าที่ของระบบสังคม เมื่อมีความคิดใหม่ๆ ถูกประดิษฐ์ขึ้นมา มีการแพร่กระจายออกไปและได้รับการยอมรับหรือไม่ยอมรับ จนกระทั่งมีการนำไปสู่ผลกระทบจริงๆต่อสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมก็ได้ปรากฏขึ้นแล้ว ความจริงแล้วการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ โดยปกติแล้วกระบวนการของนวัตกรรมทางสังคมใดสังคมหนึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมซึ่งประกอบด้วยขั้นตอน 3 ประการ
1) การประดิษฐ์คิดค้น
2)ผลของการรับนวัตกรรม
3)จะต้องมีกระบวนการในการตรวจสอบการใช้นวัตกรรมนั้น
2. การแพร่กระจายเป็นลักษณะเฉพาะของการสื่อสารแบบหนึ่ง
3.ความใหม่ของนวัตกรรม คือระดับของความไม่แน่ใจ


การยอมรับนวัตกรรม
-ขั้นตอนการยอมรับนวัตกรรม
-กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม
ขั้นตอนการยอมรับนวัตกรรม มี 5 ขั้นดังนี้
1. ขั้นตื่นตัวหรือรับทราบ
2. ขั้นสนใจ
3. ขั้นประเมินผล
4. ขั้นทดลอง
5. ขั้นยอมรับปฏิบัติแต่ ทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่ในบางประการคือ
1. กระบวนการยอมรับเป็นกระบวนการที่อธิบายเฉพาะในด้านบวกเท่านั้น
2. กระบวนการยอมรับทั้ง 5 ขั้นนี้ ในความเป็นจริงแล้วอาจเกิดไม่ครบทุกขั้นตอนหรือบางขั้นตอนอาจเกิดขึ้นทุกระยะ
3. ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การยอมรับปฏิบัติทั้ง 5 ขั้นนี้ ยังไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถาวรทีเดียวแต่เขาจะหาสิ่งอื่นๆ หรือบุคคลอื่นยอมรับความคิดของเขากระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนคือ
1. ขั้นความรู้
2. ขั้นชักชวน
3. ขั้นตัดสินใจ
4. ขั้นยืนยัน

ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรมม
1. ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรมคุณลักษระของนวัตกรรมที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับ
1) ผลประโยชน์ที่ได้รับจากนวัตกรรม คือระดับของการรับรู้หรือความเชื่อว่านวัตกรรมนั้นมีคุณสมบัติที่ดีกว่าความคิดหรือสิ่งที่มีอยู่เดิม
2)การเข้ากันได้ดีกับสิ่งที่มีอยู่เดิมคือ ระดับของนวัตกรรมซึ่งมีความสอดคล้องกับคุณค่า ประสบการณ์และความต้องการที่มีอยู่แล้วในตัวผู้รับนวัตกรรมนั้นๆ
3) ความซับซ้อน คือ ระดับของความเชื่อว่านวัตกรรมนั้นมีความยากต่อการเข้าใจและการนำไปใช้
4) การทดลองได้ คือ ระดับของนวัตกรรมที่สามารถมองเห็นผลจากการทดลองปฏิบัติเพื่อให้เห็นผลได้จริง5) การสังเกตได้ คือ ระดับของนวัตกรรมที่สามารถมองเห็นกระบวนการในการปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
2. ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม
3. ปัจจัยทางด้านระบบสังคม
4. ปัจจัยทางด้านการติดต่อสื่อสาร

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.การเรียนรู้แบบออนไลน์
2.บทเรียนคอมพิวเตอร์
3.วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย
4.หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
5.ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์

ไม่มีความคิดเห็น: