วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2551



3.เทคโนโลยีและนวัตกรรม

เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาขบวนการ วิธีการและแนวความคิดใหม่ๆมาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้ดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

นวัตกรรม หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ๆมาใช้หรือประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นสำหรับนวัตกรรมทางกาศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ๆที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาความรู้ แนวคิด การบวนการและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีทางการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
1. ระดับอุปกรณ์การสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับเครื่องช่วยสอนของครู
2.ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตัวเอง
3. ระดับการจัดระบบการศึกษา เป็นการใช้เทคโนโลยีการสอนระดับกว้างสามารถจัดระบบการศึกษาตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก

บทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับกระบวนการถ่ายทอดความรู้หรือประสบการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา๗งมีความสำคัญและบทบาทต่อการจัดการเรียนการสอนดังนี้
1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขว้างมากขึ้นไดเห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจได้อย่างสมบรูณ์และยังทำให้ผู้สอนมีเวลากับผู้เรียนมากขึ้น
2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมากขึ้น
3. ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้าวิจัย ทดลองค้นพบวิธีการใหม่ๆ ตามสภาพการเปลี่ยนแปลง
4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน
5. ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะหรือเจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย
6. ช่วยเพิ่อโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้น

สาเหตุที่นำเอาเทคนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษา กระบวนการให้การศึกษาในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ พอสรุปได้ 3 ประการคือ
1. การเพิ่มจำนวนประชากร
2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
3. ความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ๆ

สื่อการสอน
สื่อการสอนหมายถึง วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหนะในการถ่ายทอดความรู้ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียนสื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่าในตัวมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาแลแทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ

คุณสมบัติของสื่อการสอน
สื่อการสอนมีคุณสมบัติพิเศษ 3 ประการ คือ
1.สามารถจับยึดประสบการณ์ กิจกรรม และการกระทำต่างๆ ไวได้อย่างคงทนถาวร
2.สามารถจัดแจง จัดการและปรุงแต่งประสบการณ์ต่างๆ ให้ใช้ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
3.สามารถแจกจ่ายและขยายข่าวสารออกเป็นหลายๆฉบับเพื่อเผยแพร่สู่คนจำนวนมาก

คุณค่าของสื่อการสอน
สื่อการสอนทุกชนิดมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนดังนี้
1. เป็นศูนย์รวมความสนใจของผู้เรียน
2. ทำให้บทเรียนเป็นที่น่าสนใจ
3. ช่วยให้ผู้เรียนมีปนะสบการณ์กว้างขวาง
4. ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณืร่วมกัน
5. แสดงความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ
6. ให้ความหมายแก่คำที่เป็นนามธรรมได้7
. แสดงสิ่งที่ลี้ลับให้เข้าใจง่าย
8. อธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่าย
9. สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับเวลา ระยะทางและขนาดได้

คุณค่าของสื่อการสอนดังกล่าว จำแนกได้ 3 ด้านคือ
1. คุณค่าด้านวิชาการ
2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
3. คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา

ประเภทสื่อการสอนนักการศึกษาหลายคนพยายามจำแนกประเภทของสื่อการสอนเป็นหมวดหมู่ โดยอาศัยเกณฑ์ต่างๆ กัน เช่น
- จำแนกตามคุณสมบัติ
- จำแนกตามแบบ
- จำแนกตามประสบการณ์

หลักการใช้สื่อการสอน
สื่อการสอนจะมีประโยชน์และคุณค่ามากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ธรรมชาติของสื่อแต่ละชนิด จุดมุ่งหมายความสามารถของผู้เรียน

วิธีใช้ของครู ดังนั้น เพื่อให้สื่อการสอนเกิดผลดีมากที่สุด ควรดำเนินการตามขั้นทั้ง 4 ดังนี้
1. ขั้นการเลือก ( Selection)
2. ขั้นการเตรียม ( Preparation)
3. ขั้นการใช้หรือการแสดง ( Presntation)
4. ขั้นติดตามผล (Follow up)




นวัตกรรมการศึกษา
ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุกโลกาภิวัตน์ มีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

นวัตกรรมเกิดขึ้นตามสาเหตุใหม่ๆดังต่อไปนี้
1. การเพิ่มจำนวนผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เทคโนโลยีการศึกษาต้องหานวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้เพื่อให้สามารถสอนนักเรียนได้มากขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็วการเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัดนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้
3. การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม มีส่วนผลักดันให้มีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากขึ้น

ศาสตรราจารย์ ดร. ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้เกณฑ์การพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมไว้ 4 ประการ ดังนี้
1. นวัตกรรมจะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจเป็นของเก่าใช้ไม่ได้ผลในอดีตแต่นำมาปรับปรุงใหม่ หรือเป็นของปัจจุบันที่เรานำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น
2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยการพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่นำเข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์ โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินการให้เหมาะสมก่อนที่ดำเนินการเปลี่ยนแปลง
3.มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า "สิ่งใหม่" นั้นจะช่วยแก้ปัญหาและการดำเนินงานบางอย่างได้อย่างประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันหาก "สิ่งใหม่" นั้น ได้รับการเผยแพร่และยอมรับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนั้นไม่ถือว่าสิ่งใหม่นั้นเป็นนวัตกรรมแต่จะเปลี่ยนสภาพเป็นเทคโนโลยีอย่างเต็มที่

ขอบข่ายของนวัตกรรมสำหรับนวัตกรรมทางการศึกษา มีขอบข่ายในเรื่องอื่นๆดังนี้
1. การจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีการใหม่ๆ
2. เทคนิควิธีการสอนแบบต่างๆ ที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน
3. การพัฒนาสื่อใหม่ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
4. การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตนเอง
5. วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ๆ
6. การจัดการด้านการวัดผลใหม่ๆ

การเรียนการสอนผ่านสื่อคอมพิวเตอร์
ในอนาคตมีแนวโน้มการเรียนการสอนไปในทิศทางที่เเปลี่ยนแปลงไป เพราะมีสาเหตุดังต่อไปนี้
1. ปัจจุบันมีนวัตกรรมเกิกขึ้นใหม่ๆ ในทางการเรียนการสอนมีสื่อซึ่งผลิตออกมาอย่างไม่หยุดยั้ง
2. การเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนแบบใหม่ๆ
3. มีสื่อหลากหลายที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
4. มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อให้เข้ากับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน
5. คนสนใจทางการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้จากการศึกษานอกระบบ
6. ทรัพยากรการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
7. การวิจัยเกี่ยวกับผลสัมฤทธ์ทางการเรียนการสอนที่เพิ่มขึ้นทั้งในและนอกประเทศ
8. ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนในระบบและนอกระบบ



การยอมรับนวัตกรรมการศึกษา
-การแพร่กระจายนวัตกรรม
-การแพร่กระจายนวัตกรรมการศึกษา
- ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม

การแพร่กระจายนวัตกรรมการศึกษา เป็นกระบวนการถ่ายทอดความคิด การปฏิบัติ ข่าวสารหรือพฤติกรรมไปสู่ที่ต่างๆ จากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไปสู่กลุ่มบุคคลอื่นอย่างกว้างขวางจนเป็นผลให้เกิดการยอมรับความคิดและการปฏิบัติเหล่านั้นอันมีผลต่อโครงสร้างและวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในที่สุด

ลักษณะบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม
1. การแพร่กระจายเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม Everette M. Rogers ให้ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมว่าหมายถึง กระบวนการซึ่มีการเปลี่ยนแปลงปรากฏขึ้นในโครงสร้างและหน้าที่ของระบบสังคม เมื่อมีความคิดใหม่ๆ ถูกประดิษฐ์ขึ้นมา มีการแพร่กระจายออกไปและได้รับการยอมรับหรือไม่ยอมรับ จนกระทั่งมีการนำไปสู่ผลกระทบจริงๆต่อสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมก็ได้ปรากฏขึ้นแล้ว ความจริงแล้วการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ โดยปกติแล้วกระบวนการของนวัตกรรมทางสังคมใดสังคมหนึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมซึ่งประกอบด้วยขั้นตอน 3 ประการ
1) การประดิษฐ์คิดค้น
2)ผลของการรับนวัตกรรม
3)จะต้องมีกระบวนการในการตรวจสอบการใช้นวัตกรรมนั้น
2. การแพร่กระจายเป็นลักษณะเฉพาะของการสื่อสารแบบหนึ่ง
3.ความใหม่ของนวัตกรรม คือระดับของความไม่แน่ใจ


การยอมรับนวัตกรรม
-ขั้นตอนการยอมรับนวัตกรรม
-กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม
ขั้นตอนการยอมรับนวัตกรรม มี 5 ขั้นดังนี้
1. ขั้นตื่นตัวหรือรับทราบ
2. ขั้นสนใจ
3. ขั้นประเมินผล
4. ขั้นทดลอง
5. ขั้นยอมรับปฏิบัติแต่ ทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่ในบางประการคือ
1. กระบวนการยอมรับเป็นกระบวนการที่อธิบายเฉพาะในด้านบวกเท่านั้น
2. กระบวนการยอมรับทั้ง 5 ขั้นนี้ ในความเป็นจริงแล้วอาจเกิดไม่ครบทุกขั้นตอนหรือบางขั้นตอนอาจเกิดขึ้นทุกระยะ
3. ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การยอมรับปฏิบัติทั้ง 5 ขั้นนี้ ยังไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถาวรทีเดียวแต่เขาจะหาสิ่งอื่นๆ หรือบุคคลอื่นยอมรับความคิดของเขากระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนคือ
1. ขั้นความรู้
2. ขั้นชักชวน
3. ขั้นตัดสินใจ
4. ขั้นยืนยัน

ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรมม
1. ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรมคุณลักษระของนวัตกรรมที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับ
1) ผลประโยชน์ที่ได้รับจากนวัตกรรม คือระดับของการรับรู้หรือความเชื่อว่านวัตกรรมนั้นมีคุณสมบัติที่ดีกว่าความคิดหรือสิ่งที่มีอยู่เดิม
2)การเข้ากันได้ดีกับสิ่งที่มีอยู่เดิมคือ ระดับของนวัตกรรมซึ่งมีความสอดคล้องกับคุณค่า ประสบการณ์และความต้องการที่มีอยู่แล้วในตัวผู้รับนวัตกรรมนั้นๆ
3) ความซับซ้อน คือ ระดับของความเชื่อว่านวัตกรรมนั้นมีความยากต่อการเข้าใจและการนำไปใช้
4) การทดลองได้ คือ ระดับของนวัตกรรมที่สามารถมองเห็นผลจากการทดลองปฏิบัติเพื่อให้เห็นผลได้จริง5) การสังเกตได้ คือ ระดับของนวัตกรรมที่สามารถมองเห็นกระบวนการในการปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
2. ปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม
3. ปัจจัยทางด้านระบบสังคม
4. ปัจจัยทางด้านการติดต่อสื่อสาร

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.การเรียนรู้แบบออนไลน์
2.บทเรียนคอมพิวเตอร์
3.วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย
4.หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
5.ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์

วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551

2.ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและสืบค้น

The Simple Sentence
เอกกัตถประโยค คือ ประโยคที่มีกริยา (แท้) เพียงตังเดียวเท่า ซึ่งอาจแสดงออกใน 4 รูปแบบ ดังนี้
1.ประโยคบอกเล่าหรือบอกเล่าเชิงปฏิเสธ (Statement or Negative)
2.ประโยคคำถาม (Question)
3.ประโยคคำสั่งหรือของร้อง(Command or Request)
4.ประโยคอุทาน (Excamation)
เช่น
Mr.Brown teaches this class.(บอกเล่า)
Mr.Brown does not teach this class.(ปฏิเสธ)
Do you understant me?(คำถาม)
Open the door.(คำสั่ง)
Please help me with my wort.(ขอร้อง)
How cold it is!(อุทาน)
name : atchariya nansub
Address : 159 M.4 T. Chombung A.Chombung J.Ratchaburi 70150
Office : United Analyst and Engineering Consultant
Job : chemist



Curriculum in context
To round off this discussion of curriculum we do need to pay further attention to the social context in which it is created. One criticism that has been made of the praxis model (especially as it is set out by Grundy) is that it does not place a strong enough emphasis upon context. This is a criticism that can also be laid at the door of the other approaches. In this respect the work of Catherine Cornbleth (1990) is of some use. She sees curriculum as a particular type of process. Curriculum for her is what actually happens in classrooms, that is, 'an ongoing social process comprised of the interactions of students, teachers, knowledge and milieu' (1990: 5). In contrast, Stenhouse defines curriculum as the attempt to describe what happens in classrooms rather than what actually occurs. Cornbleth further contends that curriculum as practice cannot be understood adequately or changed substantially without attention to its setting or context. Curriculum is contextually shaped. While I may quibble about the simple equation of curriculum with process, what Cornbleth does by focusing on the interaction is to bring out the significance of context.

First , by introducing the notion of milieu into the discussion of curriculum she again draws attention to the impact of some factors that we have already noted. Of especial significance here are examinations and the social relationships of the school - the nature of the teacher-student relationship, the organization of classes, streaming and so on. These elements are what are sometimes known as the hidden curriculum. This was a term credited to Philip W. Jackson (1968) but it had been present as an acknowledged element in education for some time before. For example, John Dewey in Experience and Education referred to the 'collateral learning' of attitudes that occur in schools, and that may well be of more long-range importance than the explicit school curriculum (1938: 48). A fairly standard (product) definition of the 'hidden curriculum' is given by Vic Kelly. He argues it is those things which students learn, 'because of the way in which the work of the school is planned and organized but which are not in themselves overtly included in the planning or even in the consciousness of those responsible for the school arrangements (1988: 8). The learning associated with the 'hidden curriculum' is most often treated in a negative way. It is learning that is smuggled in and serves the interests of the status quo. The emphasis on regimentation, on bells and time management, and on streaming are sometimes seen as preparing young people for the world of capitalist production. What we do need to recognize is that such 'hidden' learning is not all negative and can be potentially liberating. 'In so far as they enable students to develop socially valued knowledge and skills... or to form their own peer groups and subcultures, they may contribute to personal and collective autonomy and to possible critique and challenge of existing norms and institutions' (Cornbleth 1990: 50). What we also need to recognize is that by treating curriculum as a contextualized social process, the notion of hidden curriculum becomes rather redundant. If we need to stay in touch with milieu as we build curriculum then it is not hidden but becomes a central part of our processes.

Second , by paying attention to milieu, we can begin to get a better grasp of the impact of structural and socio-cultural process on teachers and students. As Cornbleth argues, economic and gender relations, for example, do not simply bypass the systemic or structural context of curriculum and enter directly into classroom practice. They are mediated by intervening layers of the education system (Cornbleth 1990: 7). Thus, the impact of these factors may be quite different to that expected.

Third , if curriculum theory and practice is inextricably linked to milieu then it becomes clear why there have been problems about introducing it into non-schooling contexts like youth work; and it is to this area which we will now turn.

1.ภาษาไทย

แบบ ฝึกหัดชุดที่ 1
คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถุกต้องเพียงข้อเดียว


1.ข้อความนี้ไม่มี อวัจภาษา ประเภทใด
"ฟ้าคืนนี้งามนัก มีดวงดาวระยิบพริบพราว พลอยนั่งชันเข่าอยู่ริมระเบียง แหงนดูดาวด้วยความรู้สึกเหงาๆ ขณะนั้นเธอรู้สึกว่ามีใครเดินมาและเอื้อมมือมาลูบสรีษะเธอเบาๆ พ่อนั้นเอง"
ก.กาลภาษา
ข.ปริภาษา
ค.สัมพัสภาษา
ง.อาการภาษา

2.ข้อใดไม่เป็นสถานการณ์ของการสื่อสาร
ก.ผู้คนกรูกันห้อมล้อมและให้กำลังใจเขาทันทีที่มาถึง
ข.เจ้าของบ่อกุ้งอ่านจดหมายเรียกค่าคุ้มครองให้เจ้าหน้าที่ฟัง
ค.ประชาชนนิยมไปเดินออกกำลังกายที่สวนจตุจักรทุกวันอาทิตย์
ง.เจ้าหน้าที่สวนสัตว์เชิยชวนให้บริจาคเงินป็นค่าอาหารสัตว์

3.ข้อใดไม่แสดงการเปลี่ยนแปลงของภาษา
ก."เพ็ญ" เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร มีความหมายว่า "เต็ม"
ข."วิสัยทัศน์" เป็นศัพท์บัญญัติของคำ"vision"ในภาษาอังกฤษ
ค."พอ"เมื่อเปลี่ยนเสียววรรณยุกต์เป็น"พ่อ"จะมีความหมายต่างไป
ง."เพื่อ"เดิมใช้เป็นคำบุพบทบอกเหตุ ปัจจุบันใช้เป็นคำบุพบทบอกจุดมุ่งหมาย

4.คำที่มีรูปเหมือนกันในข้อใดไม่ใช่คำซ้ำ
ก.รัศมีสีตนก็หม่นหมอง สิ่งของของตนก็มัวไหม้
ข.ให้สองทรงสีวิกายามาศ อำมาตย์เดินเคียงเป็นคู่คู่
ค.พวกเด็กเด็กหยอกเย้าเข้าฉุด อุตลุตล้อมหลังล้อมหน้า
ง.ร้านค้าผ้าผ่อนล้วนดีดี เลือกดูที่งามตามชอบใจ

5.ข้อใดไม่มีคำซ้อน
ก.หน้าตาของอุษณีย์ดูสดใสขึ้นเมื่อทราบข่าวคนรักของเธอ
ข.ศวินไม่รู้จักมักคุ้นกับมนทิยา แต่เขาก็ชวนเธอทำงาน
ค.ลลนีตกอยู่ในวังวนของความทุกข์ที่ดูจะหาทางออกไม่ได้
ง.กษมาเขาไม่เดือดร้อนที่คนเข้าใจผิดเรื่องการทำงานของเธอ

6.ข้อใดไม่ปรากฏในคำประพันะต่อไปนี้
"เสื้อเก่าเก่าผ้าปะปะติดปะต่อ เห็นแล้วก่อสังเวชล้วนชวนสลด
งอร่างคู้ดุดร่างคด กระเถิบกระถดยามลมหวีดกรีดผิวเนื้อ"
ก.การใช้คำ
ข.การใช้คำพ้องเสียง
ค.การเล่นสัมพัส
ง.การใช้ภาพพจน์

7.เสด็จเพคะ เสด็จให้มาทูลถามเสด็จว่าเสด็จจะเสด็จหรือไม่เสด็จ ถ้าเสด็จจะเสด็จเสด็จก็จะเสด็จถ้าเสด็จไม่เสด็จเสด็จก็ไม่เสด็จ
ข้อความข้างต้นนี้มีบุรุษสรรพนามที่2และ3อย่างละกี่คำ
ก.3 คำ , 5 คำ
ข.4 คำ , 4 คำ
ค.5 คำ , 3 คำ
ง. 6 คำ , 2 คำ

8.คำเชื่อมในข้อใดเมื่อเติมลงในช่องว่างต่อไปนี้แล้วได้ความถูกต้องเหมาะสม
"คนโบราณเชื่อกันว่าอำพันมีพลังลึกลับ.........การรักษาความเจ็บป่วย ถือกัยว่าเป็นของมีค่าที่หายากอย่างหนึ่ง อำพันใหญ่เป็นสีเหลืองน้ำผึ้ง............
ที่เป็นสีแดงแก่ สีขาวน้ำนม สีเขียวหรือสีน้ำเงินก็มี ถิ่นที่พบคือ แถบทะเลบอลติก สาธารรัฐโดมินิกัน.............เม็กซิโกใต้"
ก.ต่อ นอกจากนี้ ตลอดจน
ข.สหรับ ส่วน อีกทั้ง
ค.เพื่อ หรืด กับ
ง.ใน แต่ และ

9.คำว่า "ถม" ในข้อใดมีความหวามต่างจากข้ออื่น
ก.พระพิจิตรตอบว่าอย่าปรารมภ์ เด็กเรามีถมพอเลี้ยงได้
ข.น้ำท่าหญ้าฟางก้ถมไป อย่าอาลัยคะนึงถืออาชา
ค.คนดีดีก็มีถม จะปรารมภ์ไปใยไม่ใช่ที่
ง.หีบหมากเครื่องนากปริกทอง เต้าปูนถมตลับซองเอาใส่ยาม

10.ข้อความต่อไปนี้เรียงลำดับได้เหมาะสมที่สุดตามข้อใด
1.ขยะพลาสติกย่อยสลายได้ยากมากในสภาพธรรมชาติ
2.จึงมิใช่ทางออกของการลดปริมาณขยะพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพนัก
3.แม้จะมีการนำพลาสติกที่ย่อยสลายได้มาใช้
4.แต่พลาสติกประเภทดังกล่าวไม่สามารถย่อยสลายได้อย่างสมบรูณทางชีวภาพ
5.เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า
ก.1 5 2 3 4
ข.3 4 5 1 2
ค.5 3 4 1 2
ง5 1 3 4 2