วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการแยกสาร

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 4 เรื่องการแยกสาร
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เวลา 10.30-11.30 จำนวน 1 ชั่วโมง
ผู้สอน อัจฉริยา แน่นทรัพย์ สถานที่สอน โรงเรียนวันครู 2503 (บ้านหนองบัว )

สาระสำคัญ
การแยกสาร หมายถึง การแยกสารที่ผสมกันอยู่ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้น ไปออกจากกัน โดยวิธีการแยกสารก็จะมีด้วยกันหลายวิธีตามชนิดของสารที่ต้องการแยก เช่น วิธีการกรอง การร่อน การระเหย เป็นต้น ซึ่งการแยกสารประกอบด้วยการสาธิตการทดลอง การอธิบายวิธีการ การอธิปรายสรุป และการแสดงการทดลองปฏิบัติการแยกสาร

จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนสามารถปฏิบัติการแยกสารได้
จุดประสงค์นำทาง
1. นักเรียนสาธิตการทดลองการแยกสารได้
2. นักเรียนอธิบายวิธีการแยกสารได้
3. นักเรียนอภิปรายสรุปการแยกสารได้
4. นักเรียนแสดงการปฏิบัติการทดลองการแยกสารได้

สาระการเรียนรู้
การแยกสาร
1. การทดลองการแยกสาร
2. วิธีการแยกสาร
3. สรุปการแยกสาร
4. ปฏิบัติการทดลองการแยกสาร







กระบวนการเรียนรู้
1. ขั้นสาธิตการทดลองการแยกสาร
1.1 จัดทำชั้นเรียน โดยให้นักเรียนนั่งเป็นกลุ่ม 2 กลุ่มๆ ละ 5 คน ด้วยความสมัครใจ
1.2 นำเสนอสื่อ โดยนำอุปกรณ์ที่ใช้ในการการแยกสารมาให้นักเรียนดู
1.3 ครูสาธิตและอธิบายขั้นตอนการทดลองการแยกสารด้วยวิธีการกรองให้นักเรียนดูและกำหนดภาระงาน โดยให้นักเรียนบันทึกขั้นตอนการแยกสารลงในใบกำหนดงานที่ 1
( ตารางที่1 )
1.4 ปฏิบัติตามภาระงานที่กำหนดภายในเวลา 5 นาที
1.5 สะท้อนความคิด โดยตั้งประเด็นว่า ถ้าเราไม่มีกระดาษกรอง เราสามารถที่จะใช้วัสดุใดได้อีกในการกรองสารที่ให้ผลเช่นเดียวกับกระดาษกรอง
1.6 นำเสนอผลงาน โดยการสาธิตการแยกสารด้วยวิธีการกรอง จากตัวแทนนักเรียนหน้าชั้นเรียน
1.7 ประเมินผล สรุป และเพิ่มเติมเนื้อหา

2.ขั้นอธิบายวิธีการแยกสาร
2.1 จัดทำชั้นเรียน ตามหัวข้อ 1.1
2.2 นำเสนอสื่อ โดยนำผลการแยกการจากหัวข้อ 1.6 มาให้นักเรียนสังเกต
2.3 ครูอธิบายวิธีการแยกสารด้วยวิธีการกรองให้นักเรียนฟัง แล้วกำหนดกิจกรรม โดยให้นักเรียนช่วยกันคิดว่าเมื่อเรากรองสารผสมกันแล้ว เราต้องการเฉพาะส่วนที่ใสเสมอไปหรือไม่
2.4 ปฏิบัติตามภาระงานที่กำหนดภายในเวลา 5 นาที
2.5 สะท้อนความคิด โดยตั้งประเด็นว่า การเรียนรู้เรื่องการแยกสาร มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันหรือไม่
2.6 นำเสนอผลงาน โดยการอธิบายวิธีการแยกสารด้วยวิธีการกรอง
2.7 ประเมินผล สรุป และเพิ่มเติมเนื้อหา

3. ขั้นอภิปรายสรุปผลการแยกสาร
3.1 จัดทำชั้นเรียน ตามหัวข้อ 1.1
3.2 นำเสนอสื่อ โดยแจกใบความรู้ เรื่องการแยกสารให้นักเรียน คนละ 1 ชุด
3.3 ครูอธิบายวิธีการแยกสารด้วยวิธีอื่นๆ ให้นักเรียนฟัง แล้วกำหนดภาระงานให้นักเรียนตอบคำถามในใบกำหนดงานที่ 1 ( ตารางที่ 2 )
3.4 ปฏิบัติตามภาระงานที่กำหนดงานภายในเวลา 10 นาที
3.5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มอธิบายวิธีการแยกสาร กลุ่มละ 2 วิธีที่ไม่ซ้ำกัน หน้าชั้นเรียน
3.6 นำเสนอผลงาน โดยการอภิปรายสรุปการแยกสาร
3.7 ประเมินผล สรุป และเพิ่มเติมเนื้อหา

4. ขั้นแสดงการปฏิบัติการทดลองการแยกสาร
4.1 จัดชั้นเรียน ตามหัวข้อ 1.1
4.2 นำเสนอสื่อ โดยแจกอุปกรณ์การแยกสารให้นักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม
4.3 ครูอธิบายวิธีการปฏิบัติการทดลอง แล้วกำหนดภาระงานโดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการแยกสาร กลุ่มละ 1 วิธี และบันทึกผลการทดลองลงในใบกำหนดงานที่ 1 (ตารางที่3)
4.4 ปฏิบัติตามภาระงานที่กำหนดงานภายในเวลา 10 นาที
4.5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหน้าชั้นเรียน
4.6 นำเสนอผลงาน โดยการแสดงการปฏิบัติการทดลองการแยกสาร
4.7 ประเมินผล สรุป และเพิ่มเติมเนื้อหา

สื่อการเรียนรู้
1. กรวยกรอง 6. น้ำอบไทย
2. ขวดรูปชมพู่ 7. สารส้ม
3. บีกเกอร์ 8. น้ำโคลน
4. แท่งแก้วคนสาร 9.ใบความรู้ เรื่องการแยกสาร
5. กระดาษกรอง 10.ใบกำหนดงานที่ 1


การวัดและการประเมินผล
วิธีวัดผล
1. วัดผลการสาธิตการทดลองการแยกสาร ด้วยการตรวจผลการสาธิตและตรวจผลการบันทึกตามใบกำหนดงานที่ 1 ( ตารางที่ 1) โดยยึดเกณฑ์ได้
2. วัดผลการอธิบายวิธีการแยกสาร ด้วยการตรวจผลการอธิบายโดยยึดเกณฑ์ได้
3. วัดผลการอภิปรายสรุปการแยกสาร ด้วยการตรวจผลการอภิปรายตามใบกำหนดงานที่ 1
( ตารางที่ 2 ) โดยยึดเกณฑ์ได้
4. วัดผลการแสดงการปฏิบัติการทดลองการแยกสาร ด้วยการตรวจผลการแสดงการทดลองและตรวจผลการบันทึกการทดลอง ตามใบกำหนดที่ 1 (ตารางที่3 ) โดยยึดเกณฑ์ได้

การประเมินผล
1.ประเมินผลการสาธิตการทดลองการแยกสารพบว่านักเรียนทั้ง 2 กลุ่มสาธิตได้ถูกต้อง
2.ประเมินผลการอธิบายวิธีการแยกสาร พบว่านักเรียน 2 คน อธิบายไม่ได้ แก้ไขด้วยการอ่านใบความรู้เรื่องการแยกสารเพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
3.ประเมินผลการอภิปรายสรุปการแยกสาร พบว่านักเรียน 3 คน อภิปรายไม่ได้ แก้ไขด้วยการอ่านใบความรู้เรื่องการแยกสารเพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
4.ประเมินผลการแสดงการปฏิบัติการทดลองการแยกสาร พบว่านักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม แสดงการปฏิบัติการทดลองได้ถูกต้อง

บันทึกหลังการสอน
จากการทำใบกำหนดงานเป็นรูปแบบตาราง ( Learning Log ) และเพิ่มเติมใบความรู้ให้กับนักเรียน ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในเรื่องการแยกสารมากขึ้น และจากการขอยืมอุปกรณ์การทดลองจากมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง มาให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง นักเรียนมีความสนใจ และให้ความร่วมมือในการเรียนครั้งนี้เป็นอย่างดี

รูปสวย น่ารัก glitter emoticon www.yenta4.com

แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องทรัพยากรป่าไม้

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 3 เรื่องทรัพยากรป่าไม้
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เวลา 13.30 - 14.30 จำนวน 1 ชั่วโมง
ผู้สอน อัจฉริยา แน่นทรัพย์ สถานที่สอน โรงเรียนวันครู 2503 (บ้านหนองบัว )

สาระสำคัญ
ป่าไม้จัดเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า และมีประโยชน์มากมายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งป่าไม่ในประเทศไทยมีด้วยกันหลายชนิด และการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้ก่อให้เกิดผลกระทบมากมายต่อตัวมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนอธิบายเรื่องทรัพยากรป่าไม้ได้
จุดประสงค์นำทาง
1. นักเรียนอธิบายประเภทของป่าไม้และชนิดของป่าไม้ได้
2. นักเรียนอธิบายประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้ได้
3. นักเรียนบอกสาเหตุในการทำลายพื้นที่ป่าไม้ได้

สาระการเรียนรู้
ทรัพยากรป่าไม้
1. ประเภทของป่าไม้และชนิดของป่าไม้
2. ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้
3. สาเหตุในการทำลายพื้นที่ป่าไม้

กระบวนการเรียนรู้
1. ขั้นอธิบายประเภทของป่าไม้และชนิดของป่าไม้
1.1 จัดทำชั้นเรียน โดยให้นักเรียนนั่งเป็นกลุ่ม 2 กลุ่ม ด้วยความสมัครใจ
1.2 เร้าความสนใจ โดยให้นักเรียนร้องเพลง ป่าดงพงพี และแจกใบความรู้เรื่อง
ประเภทของป่าไม้ให้แก่นักเรียนและสรุปประเด็น 2 ประเด็น คือ 1. ประเภทของป่าไม้ 2. ชนิดของป่าไม้
1.3 ครูอธิบายประเภทของป่าไม้ แล้วกำหนดภาระงานให้นักเรียนบอกชนิดป่าไม้
ในแต่ละประเภท ในใบกำหนดงานที่ 1 ( ลำดับที่ 1)
1.4 ปฏิบัติตามภาระงานที่กำหนดภายในเวลา 10 นาที
1.5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยให้แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน

1.6 นำเสนอผลงาน โดยการอธิบายประเภทของป่าไม้และชนิดของป่าไม้ในแต่ละ
ประเภท
1.7 ประเมินผล สรุป และเพิ่มเติมเนื้อหา

2.ขั้นอธิบายประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้
2.1 จัดทำชั้นเรียน ตามหัวข้อ 1.1
2.2 เร้าความสนใจ โดยบอกถึงความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้ให้นักเรียนฟัง แล้วสรุปประเด็นประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้
2.3 ครูวิเคราะห์ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้ในข้อแรก แล้วกำหนดภาระงานให้นักเรียนวิเคราะห์ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้ ในใบกำหนดงานที่ 1 (ลำดับที่ 2)
2.4 ปฏิบัติตามภาระงานที่กำหนดภายในเวลา 10 นาที
2.5 นำเสนอผลงาน โดยการอธิบายประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้
2.6 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหน้าชั้นเรียน
2.7 เมินผล สรุป และเพิ่มเติมเนื้อหา

3. ขั้นบอกสาเหตุในการทำลายพื้นที่ป่าไม้
3.1 จัดทำชั้นเรียน ตามหัวข้อ 1.1
3.2 เร้าความสนใจ โดยยกตัวอย่างเหตุการณ์ และผลที่เกิดขึ้นจากการทำลายพื้นที่ป่าไม้ และสรุปประเด็นสาเหตุในการทำลายพื้นที่ป่าไม้
3.3 ครูวิเคราะห์สาเหตุในการทำลายพื้นที่ป่าไม้ในข้อแรก แล้วกำหนดภาระงานให้นักเรียนวิเคราะห์สาเหตุในการทำลายพื้นที่ป่าไม้ ในใบกำหนดงานที่ 1 (ลำดับที่3 )
3.4 ปฏิบัติตามภาระงานที่กำหนดงานภายในเวลา 10 นาที
3.5 นำเสนอผลงาน โดยการบอกสาเหตุในการทำลายพื้นที่ป่าไม้
3.6 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหน้าชั้นเรียน
3.7 ประเมินผล สรุป และเพิ่มเติมเนื้อหา


สื่อการเรียนรู้
1. เพลงป่าดงพงพี
2. ใบความรู้เรื่อง ประเภทของป่าไม้
3. ใบกำหนดงานที่ 1 เรื่องทรัพยากรป่าไม้

การวัดและการประเมินผล
วิธีวัดผล
1. วัดผลการอธิบายประเภทของป่าไม้ และชนิดของป่าไม้ ด้วยการตรวจผลการอธิบาย ตามใบกำหนดงานที่ 1 ( ลำดับที่ 1 ) โดยยึดเกณฑ์ได้
2. วัดผลการอธิบายประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้ ด้วยการตรวจผลการอธิบาย ตามใบกำหนดงานที่ 1 ( ลำดับที่ 2 ) โดยยึดเกณฑ์ได้
3. วัดผลการบอกสาเหตุในการทำลายพื้นที่ป่าไม้ ด้วยการตรวจผลการบอก ตามใบกำหนดงานที่ 1 ( ลำดับที่ 3 ) โดยยึดเกณฑ์ได้

การประเมินผล
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


บันทึกหลังการสอน
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................